วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างของพืช


โครงสร้างของพืช

เนื้อเยื่อของพืชแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. เนื้อเยื้อเจริญ ( MERISTMETIC TISSUE ) สามารถแบ่งเซลล์ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง

2. เนื้อเยื่อถาวร ( PERMANENT TISSUE ) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการแบ่งเซลล์อีกแล้วได้แก่

2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เช่น อิพิเดอร์มิส พาเรนไคมา คอลเลนไคมา สเคอเรนไคมา เอนโดเดอร์มิส

2.2 เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน ประกอยด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกัน เช่นเนื้อเยื่อท่อลำเลียง
โครงสร้างและหน้าที่ของราก รากมีโครงสร้างเรียงลำดับจากภายนอกสู่ภายในดังนี้1. EPIDERMIS มีลักษณะเหมือนอิพิเดอร์มิสของลำต้นแต่จะมีบางเซลล์ยื่นออกไปเป็นขนราก ( ROOT HAIR )2. CORTEX ประกอบด้วยเซลล์พาเรนไคมา ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและน้ำ คอร์เทกซ์ของรากจะกว้างกว่าลำต้น

3. STELE เป็นชั้นที่อยู่ถัด ENDODERMIS ประกอบด้วย

3.1 PERICYCLE ส่วนใหญ่เรียงตัวแถวเดียว หรือ สองแถวเป็นแหล่งทีเกิดของรากแขนง

3.2 VASCULAR BUNDLE คือกลุ่มของท่อน้ำท่ออาหารจะอยู๋ภายในวงล้อมของ PERICYCLE

3.3 PITH เป็นใส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวข้อควรจำ ถ้าดูภาพตัดขวางของรากจากกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า- ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีส่วนกลางสุดเป็นไซเลม- ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเป็นพิธ
โครงสร้างของลำต้น

ชั้นของเนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่เรียงตัวจากภายนอกเข้าสู่ภายในตามลำดับดังต่อไปนี้

1. EPIDERMIS เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกันชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์2. CORTEX อยู่ใต้ชั้น EPIDERMIS เป็นชั้นที่มีคลอโรพลาสต์อยู่3. STELE ประกอบด้วย 3.1 VASCULAR BUNDLE คือชั้นของเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มๆ คือเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร ( PHLOEM ) 3.2 PITH คือส่วนที่อยุ่ด้านในสุดทำหน้าที่สะสมแป้งข้อควรจำ- VASCUCAR BUNDLE มนลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงเป็นวงรอบลำต้นอย่างเป็นระเบียบ โดยมีท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านนอกและท่อลำเลียงน้ำอยู่ด้านใน- ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจัดกระจายทั่วลำต้นไม่เป็นระเบียบ และส่วนที่เป็นพิธอาจสลายไปกลายเป็นช่องวงกลม เรียกว่า PITH CAVITY
การเจริญเติบโตของรากและลำต้น พืชในระยะหลังจากเอมบริโอบริเวณที่จะมีการเจริญเติบโต ได้แก่ปลายราก ปลายยอด ปลายกิ่ง และเนื้อเยื่อเจริญ ( MERISTEMETIC TISSUE ) ที่แบ่งตัวตลอดเวลา การเจริญของพืชที่มีเนื้อไม้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ- ระยะที่ 1 การเจริญเติบโตที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ปละแปรสภาพเป็นเนื้อเยื่อถาวร ( PERMANT TISSUE )ระยะแรกๆ- ระยะที่ 2 เป็นการเจริญของเนื้อเยื่อลำเลียงด้านข้าง เป็นผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นพืชขยายขึ้น มีเนื้อไม้มากขึ้น เนื้อไม้ที่เห็นนั้นส่วนใหญ่จะเป็นท่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) ระยะที่ 2ข้อควรจำ- วงปี ( ANNUAL RING ) เกิดจากความแตกต่างของขนาดและสีของไซเลมที่เกิดขึ้นในฤดูที่มีปริมาณน้ำมากน้อยแตกต่างกัน- แก่นไม้ ( HEART WOOD ) เป็นไซเลมที่อยู่ส่วนในสุดของต้น มีสีคล้ำมีความแข็งแรงมาก เนื่องจากมีพวกน้ำมันหรือพวก TANNIN เข้าไปอุดตันทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้- กระพี้ ( SAP WOOD ) คือไซเลมที่อยู่ถัดแคมเบียมเข้าไป ยังสามารถลำเลียงน้ำได้- เปลือกไม้ ( BARK ) คือ โฟลเอม รวมกับอิพิเดอร์มิส ( EPIDERMIS )
ใบประกอบด้วยชั้นเซลล์ 2 ชั้น1. เซลล์อิพิเดอร์มิส ( EPIDERMIS ) เป็นเซลล์ชั้นนอกสุด2. เซลล์ชั้นมีโซฟิลล์ ( MESOPHYLL ) อยู่ถัดจากอิพิเดอร์มิสเข้าไปประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างกัน 2 แบบคือ- PALISADE CELL อยู่ติดกับอิพิเดอร์มิสด้านบน มีรูปร่างยาวๆเรียงติดกัน มีคลอโรพลาสต์อยู่เป็นจำนวนมากจึงเป็นบริเวณที่มีการสังเคราะห์ด้วนแสงมากที่สุด- SPONG CELL อยู่ถัดจากอิพิเดอร์มิสด้านล่างขึ้นมา มีรูปร่างค่อนข้างกลม มีคลอโรพลาสต์น้อย เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ บริเวณเส้นใบจะมีกลุ่มของไซเลม และ โฟลเอม จับกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงแทรกอยู่ในชั้นมีโซฟิลล์นี้ข้อควรระวัง ตามปกติอิพิเดอร์มิสจะไม่มีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน จะมีอยู่ที่บริเวณเซลล์คุม ( GUARD CELL ) ซึ่งมีอยู่เป็นคู่ๆ พบมากที่ดิพิเดอร์มิสที่อยู่ด้านล่างระหว่างเซลล์คุมทั้งสองใบเป็นปากใบ ( STOMATA )ซึ่งเป็นทางเปิดเข้าออกของ ก๊าซ และไอน้ำชนิดของใบ1. ใบเลี้ยง – สะสมอาหาร2. ใบเกล็ด – เช่นหัวหอม กระเทียม3. ใบดอก – ใบเฟื่องฟ้า , หน้าวัว , คริสต์มาส4. ใบแท้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น