วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การเจริญเติบโตทางต้นและใบ

การเจริญเติบโตทางต้นและใบ

พืชเศรษฐกิจหลายชนิดในประเทศไทยที่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น) และพืชใบเลี้ยงคู่ (เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น) ซึ่งพืชทั้งสองกลุ่มนี้ต่างก็มีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันในส่วนต่าง ๆ คือระบบราก (ดังที่กล่าวแล้วในบทที่ 9) ลำต้นและใบ ดังนั้นในการพัฒนาพืชเหล่านี้โดยใช้ความรู้ทางสรีรวิทยาและการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ผล จำเป็นต้องมีความเข้าใจถึงลักษณะการเจริญเติบโตทางต้นและใบของพืชเหล่านี้ด้วย ซึ่งพอจะอธิบายการเจริญเติบโตในแต่ละส่วนดังต่อไปนี้

การเจริญของใบและลำต้น
ใบพืชนับเป็นอวัยวะส่วนที่สำคัญในการสร้างอาหารให้แก่พืชโดยกระบวนการสัง-เคราะห์แสง แล้วมีการเคลื่อนย้ายอาหารที่สร้างขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช การเกิดใบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นพวกหญ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ แผ่นใบและส่วน sheath ดังนั้นใบอ่อนจะเกิดอยู่ใน pseudostem หรือในใบแก่ที่ม้วนหุ้มอยู่ ตรงกันข้ามในพืชใบเลี้ยงคู่เมื่อใบเจริญออกมาจากตาใบจะมีการแผ่ของแผ่นใบคลี่ออกมาได้เลย ในการศึกษาทางสรีรวิทยาต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของใบ ถึงแม้ว่าจำนวนใบและขนาดใบถูกควบคุมโดยลักษณะพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ความแตกต่างของความกว้างและความยาวใบยังขึ้นกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชด้วย ดังตัวอย่างในข้าวโพด ใบที่ส่วนยอดและส่วนโคนของต้นมีขนาดใบแคบและสั้น ทำให้มีพื้นที่ใบเล็กกว่าใบในตำแหน่งที่มีการติดฝัก จากตัวอย่างนี้เป็นตัวแทนในธัญพืชหลายชนิด ถึงแม้ว่าใบที่อยู่ล่าง ๆ ของลำต้นมีขนาดเล็กและเหี่ยวร่วงไปเมื่อได้รับสภาวะความกดดันจากสภาพแวดล้อมหรือการแก่ (senescence) ของพืชเอง นับว่ามีความสำคัญต่อการเจริญของต้นพืช
ปกติจำนวนใบและพื้นที่ใบต่อหน่วยพื้นที่หรือ LAI ของพืชจะเพิ่มขึ้นสูงสุดและจะคงอยู่ระดับนี้ในช่วงเวลาหนึ่งจากนั้นจะลดลงเนื่องจากการแก่ของพืช ในช่วงที่พืชสามารถรักษาระดับ LAI ให้คงที่ไว้ได้เนื่องจากอัตราการร่วงของใบล่างมีความสมดุลกับการสร้างใบใหม่ ดังนั้น LAI ในระดับที่คงที่นี้จะอยู่ในช่วง 4 ถึง 7 สำหรับพืชที่มีทรงพุ่ม แต่ในพืชตระกูลหญ้าซึ่งใบแคบ LAI นี้จะอยู่ที่ระดับสูงกว่า 7 สาเหตุที่ทำให้เกิดการแก่ของใบเนื่องจากมีการเคลื่อน ย้ายธาตุอาหารและสารอินทรีย์ไปยัง sink ในส่วนที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง เช่น ใบอ่อน ผล เมล็ดและราก เป็นต้น
ส่วนลำต้นประกอบไปด้วยข้อ ปล้อง และใบ สำหรับความสูงของลำต้นที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการยืดตัวของปล้อง (internode elongation) ซึ่งเกิดจากการเพิ่มจำนวนเซลล์และขนาดของเซลล์ และเป็นการเจริญเติบโตที่เกิดจากการแบ่งเซลล์ของ intercalary meris- tem มากกว่าในส่วน apical meristem

ความแตกต่างของการเจริญเติบโตของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
อภิพรรณ และคณะ (2529) ได้อธิบายถึงความแตกต่างในการเจริญเติบทางลำต้นระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ดังนี้
ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ยกตัวอย่างเช่นข้าวโพด เมื่อเมล็ดเริ่มงอกส่วน coleoptile จะยืดยาวออกโผล่พ้นดิน ช่วยให้จุดเจริญอยู่ระดับผิวดินด้วย เมื่อ coleoptile แตกออก ส่วนที่โผล่ขึ้นมาจะกลายเป็นต้นอ่อน ระยะที่ apical meristem ไม่ยืดตัวออกคืออยู่บริเวณระดับผิวดินนี้จะเกิดขึ้นเมื่อข้าวโพดอายุตั้งแต่เริ่มงอกถึง 35 วัน ถึงแม้ต้นข้าวโพดมีความสูงขึ้นมา แต่ตำแหน่งจุดเจริญ (growing point) ยังอยู่ระดับผิวดิน การยืดตัวของจุดเจริญจะเริ่มขึ้นหลังจากที่พืชมีอายุเกิน 35 วัน หรือในขณะที่จุดเจริญเริ่มเปลี่ยนสภาพจากเดิมเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์ ระยะนี้จะมีการยืดตัวออกอย่างรวดเร็วจนโผล่พ้นใบพืชกลายเป็นยอดของต้นพืช และกลายเป็นช่อดอก สำหรับความสูงของต้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการยืดปล้องซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญของ intercalary meristem ที่อยู่ในบริเวณปล้องตอนล่าง เนื้อเยื่อดังกล่าวทำหน้าที่ในการยืดปล้องให้กับพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วน axillary meristem ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวสามารถพบได้ในบริเวณที่ใบพืชบรรจบกับลำต้นที่เรียกว่า "leaf axis" axillary meristem ทำหน้าที่เจริญเติบโตออกเป็น tiller เมื่อเจริญออกมาแล้วจะกลายเป็นลำต้นเล็กๆล้อมรอบลำต้นเดิม
ในพืชใบเลี้ยงคู่ apical meristem อยู่ที่ปลายยอดของพืชมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางลำต้นเพราะทำหน้าที่เป็นจุดเจริญ ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์ต่อไปเรื่อย ๆ จนพัฒนาเป็นลำต้น ส่วนของ leaf primordia ก็จะกลายเป็นใบ ตำแหน่งที่ใบเชื่อมกับลำต้น เรียกว่า "leaf axis" และบริเวณที่ใบเชื่อมติดกับลำต้นจะกลายเป็นข้อ (node) ในบริเวณ leaf axis จะมีเนื้อเยื่อประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ให้การเจริญเติบโตของตา (axillary bud) ซึ่งทำหน้าที่ให้การเจริญเติบโตตามขวางของพืช คือการเจริญของกิ่ง และแขนงของลำต้น ทำให้พืชมีการเพิ่มขนาดของทรงพุ่ม เพราะมีการเพิ่มจำนวนข้อและใบ ในช่วงที่มีการเจริญพันธุ์ตาจะพัฒนาเป็นดอกต่อไป

การแตกแขนง (Branching)
พบในพืชพวกหญ้าจะมีการแตกแขนงเพื่อการเจริญเติบโตทางต้น ซึ่งมีอยู่ 3 แบบคือ
1) เจริญในแนวตั้ง หรือ apogeotropic จะมี tiller ที่เจริญขึ้นมามีลักษณะเหมือนต้นเดิม แต่จะมีจำนวนใบน้อยกว่า tiller เหล่านี้จะแทงออกมาจาก leaf sheath ที่มีชีวิต
2) เจริญในแนวขนาน หรือ diageotropic เป็นการเจริญของ stolon และ rhizome เป็นการเจริญจาก leaf sheath ที่ตายแล้วบริเวณข้อล่าง ๆ หรือใต้ผิวดิน stolon มีการเจริญขนานบนผิวดินและมีลำต้นและใบ ส่วน rhizome ที่เจริญใต้ดินมีใบแปรรูปที่เรียกว่า cataphyll แต่ส่วนต้นจะมีข้อและปล้องตามปกติ
3) การเจริญในแนวดิ่ง หรือ geotropic การเจริญแบบนี้มีพบน้อยมาก

การฟื้นตัวในการเจริญทางต้นและใบ (Vegetative Regrowth)
ในพืชอาหารสัตว์การฟื้นตัวในการเจริญทางต้นและใบมีความสำคัญในการรักษาระดับการให้ผลผลิต การแทะเล็มของสัตว์ช่วยให้มีการเจริญขึ้นมาใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง แต่การตัดด้วยเครื่องตัดมีผลเสียมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับพันธุ์หญ้า นิสัยการเจริญเติบโตและการจัดการที่ดี อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวนี้ก็แตกต่างกันในพืช 2 กลุ่ม คือพืชพวกหญ้าและพืชตระกูลถั่ว เมื่อมีการตัดต้นพืชที่ 2 ระดับ คือระดับสูงและระดับต่ำหรือใกล้ผิวดิน พืชพวกหญ้าจะมีการปรับตัวได้ดีกว่าถึงว่าจะมีการตัดที่ระดับต่ำ พืชพวกหญ้าสามารถมีการเจริญขึ้นมาใหม่จากใบอ่อนที่ยังม้วนตัวอยู่ แทงขึ้นมาเป็นต้นต่อไปได้ ตรงกันข้ามกับพืชตระกูลถั่วจะมีการเจริญขึ้นมาใหม่ได้ก็ต่อเมื่อยังมี axillary bud เหลืออยู่ ดังนั้นเมื่อตัดในระดับต่ำมากพืชไม่สามารถมีการเจริญต่อไปได้

การเจริญเติบโตแบบ determinate และ indeterminate
อภิพรรณและคณะ (2529) ได้อธิบายความแตกต่างไว้ดังนี้
การเติบโตแบบ determinate หมายถึง การเจริญเติบโตของพืชที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นสิ้นสุดลงในขณะที่พืชออกดอก เมื่อพืชเริ่มออกดอกพืชก็จะมีการเจริญพันธุ์เท่านั้น พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทุกชนิดมีการเจริญเติบโตแบบนี้ ส่วนในพืชใบเลี้ยงคู่มีพืชบางพันธุ์ที่มีการเจริญแบบนี้ เช่น ถั่วเหลือง และมะเขือเทศบางพันธุ์
ลักษณะที่สำคัญของพืชที่มีการเจริญแบบนี้คือ พืชมักออกดอกพร้อมกันทั้งต้น จุดเจริญที่ยอดจะกลายเป็นดอกและมักมีช่อดอกที่ใหญ่ ส่วนตา (axillary bud) จะกลายเป็นดอกและฝัก ข้อดีของการเจริญแบบนี้คือทำให้การเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันหรือไล่เลี่ยกัน
การเจริญเติบโตแบบ indeterminate หมายถึง การเจริญเติบโตทางลำต้นที่ไม่สิ้นสุดลงในขณะที่พืชออกดอก คือ ขณะที่มีการเจริญเติบโตของดอกและติดฝักในระยะแรกพืชก็ยังมีการเจริญเติบโตทางลำต้นด้วย มีการทยอยออกดอก ดังนั้นการทยอยสุกแก่ของฝักและเมล็ดมีผลทำให้การเก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน ตัวอย่างพืชที่มีการเจริญเติบโตแบบนี้ คือ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และมะเขือเทศบางพันธุ์
เอกสารอ้างอิง
อภิพรรณ พุกภักดี ไสว พงษ์เก่า และวิจารณ์ วิชชุกิจ (2529) เอกสารคำสอนวิชา พร.451 สรีรวิทยาการผลิตพืช ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
Crookston, R.K., D.R. Hicks and G.R. Miller (1976) Crops Soils 28 : 7-11.
Gardner, F.P., B.R. Pearce and R.L. Mitchell (1985) Physiology of Crop Plants. Iowa State University Press, U.S.A.
Villareal, R.L. (1980) Tomato in Tropics. Westview Press, Inc. U.S.A.

การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในพืช

การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในพืช
คือการเจริญของไซโกตและเอ็นโดสเปิร์มในพืชมีดอกหลังการปฏิสนธิซ้อนโดยไซโกต เอ็นโดสเปิร์มและ รังไข่แล้วจะมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับดังนี้
เนื้อหา
1 การเจริญของโอวุลไปเป็นเมล็ด
2 การเจริญของรังไข่ไปเป็นผล
3 การงอกของเมล็ดเป็นต้นอ่อน
4 อ้างอิง
การเจริญของโอวุลไปเป็นเมล็ด
เซลล์ที่เป็นทริปพลอยด์ (triploid; 3n) เจริญไปเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหารที่เรียกว่าเอ็นโดเสปิร์ม ซึ่งเป็นส่วนที่ให้อาหารแก่เอ็มบริโอเมื่อเริ่มงอก ส่วนการเจริญของเอ็มบริโอเริ่มจากไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ เซลล์ด้านล่างมีขนาดใหญ่ แบ่งตัวช้ากว่าจะพัฒนาไปเป็นส่วนที่ฝังตัวในเอ็นโดสเปิร์ม (suspensor) ส่วนเซลล์ข้างบนที่มีขนาดเล็กกว่าจะแบ่งตัวต่อไปจนเป็นกลุ่มเซลล์ก้อนกลม (Globular stage) ซึ่งกลุ่มเซลล์นี้เรียกว่าเอ็มบริโอ จากเอ็มบริโอก้อนกลมนี้จะพัฒนาไปเป็นกลุ่มเซลล์รูปหัวใจ (Heart-shaped stage) ส่วนที่เป็นโหนกสูงจะพัฒนาต่อไปเป็นใบเลี้ยง (ถ้าในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีอันเดียว) ส่วนที่อยู่ระหว่างใบเลี้ยงทั้งสองจะพัฒนาไปเป็นยอด (shoot) ด้านตรงข้ามใบเลี้ยงจะยืดยาวออกไปซึ่งจะเป็นส่วนที่จะไปเป็นราก (radicle)ในขณะเดียวกันเยื่อหุ้มโอวุลจะเปลี่ยนแปลงไปโดยสูญเสียน้ำและแข็งขึ้น ส่วนนี้เรียกว่า เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดพัฒนาได้สมบูรณ์ เอ็มบริโอจะหยุดการแบ่งตัวและเข้าสู่ระยะพัก (seed dormancy) การเจริญของเอ็มบริโอจะเริ่มอีกครั้งเมื่อเมล็ดงอก
การเจริญของรังไข่ไปเป็นผล
เมื่อโอวุลเปลี่ยนเป็นเมล็ด รังไข่ (ซึ่งอาจจะมี 1 หรือหลายโอวุล) จะพัฒนาไปเป็นผล โดยหลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้ว กลีบดอกจะร่วงไป เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในโดยรังไข่จะจะเจริญเติบโตขึ้น โดยมีการขยายขนาดและผนังหนาขึ้นจนกลายเป็นผลหรือฝักที่สมบูรณ์ ผลของพืชมีดอกมีหลายชนิดได้แก่
ผลเดี่ยว (simple fruit) มีรังไข่ 1 อันต่อ 1 ห้อง เช่น ฝักถั่ว แอปเปิล
ผลกลุ่ม (aggregate fruit) รังไข่มีหลายห้อง เช่น น้อยหน่า
ผลรวม (multiple fruit) พัฒนามาจากกลุ่มของดอกที่แยกกัน แต่มารวมกลุ่มกัน โดยผนังของรังไข่เชื่อมต่อกันระหว่างพัฒนาการของผล เช่น สับปะรด
การงอกของเมล็ดเป็นต้นอ่อน
เมล็ดเริ่มงอกเมื่อได้รับน้ำ โดยเมล็ดที่ชุ่มน้ำจะขยายตัวและส่วนเปลือกจะฉีกขาดออก เอ็มบริโอเริ่มแบ่งตัวอีกครั้ง เอนไซม์ในเอ็นโดสเปิร์มและใบเลี้ยงเริ่มทำงานเพื่อสลายสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของเอ็มบริโอ การงอกของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันที่ว่าพืชใบเลี้ยงคู่จะชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือผิวดินก่อนจะมีใบจริงเจริญตามมา ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะไม่ชูใบเลี้ยงขึ้นจะชูแต่ใบจริงขึ้นมาเท่านั้น
การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอในพืช

คือการเจริญของไซโกตและเอ็นโดสเปิร์มในพืชมีดอกหลังการปฏิสนธิซ้อนโดยไซโกต เอ็นโดสเปิร์มและ รังไข่แล้วจะมีการเจริญเติบโตเป็นลำดับดังนี้
เนื้อหา
1 การเจริญของโอวุลไปเป็นเมล็ด
2 การเจริญของรังไข่ไปเป็นผล
3 การงอกของเมล็ดเป็นต้นอ่อน
4 อ้างอิง

การเจริญของโอวุลไปเป็นเมล็ด
เซลล์ที่เป็นทริปพลอยด์ (triploid; 3n) เจริญไปเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหารที่เรียกว่าเอ็นโดเสปิร์ม ซึ่งเป็นส่วนที่ให้อาหารแก่เอ็มบริโอเมื่อเริ่มงอก ส่วนการเจริญของเอ็มบริโอเริ่มจากไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 2 เซลล์ เซลล์ด้านล่างมีขนาดใหญ่ แบ่งตัวช้ากว่าจะพัฒนาไปเป็นส่วนที่ฝังตัวในเอ็นโดสเปิร์ม (suspensor) ส่วนเซลล์ข้างบนที่มีขนาดเล็กกว่าจะแบ่งตัวต่อไปจนเป็นกลุ่มเซลล์ก้อนกลม (Globular stage) ซึ่งกลุ่มเซลล์นี้เรียกว่าเอ็มบริโอ จากเอ็มบริโอก้อนกลมนี้จะพัฒนาไปเป็นกลุ่มเซลล์รูปหัวใจ (Heart-shaped stage) ส่วนที่เป็นโหนกสูงจะพัฒนาต่อไปเป็นใบเลี้ยง (ถ้าในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีอันเดียว) ส่วนที่อยู่ระหว่างใบเลี้ยงทั้งสองจะพัฒนาไปเป็นยอด (shoot) ด้านตรงข้ามใบเลี้ยงจะยืดยาวออกไปซึ่งจะเป็นส่วนที่จะไปเป็นราก (radicle)ในขณะเดียวกันเยื่อหุ้มโอวุลจะเปลี่ยนแปลงไปโดยสูญเสียน้ำและแข็งขึ้น ส่วนนี้เรียกว่า เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดพัฒนาได้สมบูรณ์ เอ็มบริโอจะหยุดการแบ่งตัวและเข้าสู่ระยะพัก (seed dormancy) การเจริญของเอ็มบริโอจะเริ่มอีกครั้งเมื่อเมล็ดงอก
การเจริญของรังไข่ไปเป็นผล
เมื่อโอวุลเปลี่ยนเป็นเมล็ด รังไข่ (ซึ่งอาจจะมี 1 หรือหลายโอวุล) จะพัฒนาไปเป็นผล โดยหลังจากเกิดการปฏิสนธิแล้ว กลีบดอกจะร่วงไป เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในโดยรังไข่จะจะเจริญเติบโตขึ้น โดยมีการขยายขนาดและผนังหนาขึ้นจนกลายเป็นผลหรือฝักที่สมบูรณ์ ผลของพืชมีดอกมีหลายชนิดได้แก่
ผลเดี่ยว (simple fruit) มีรังไข่ 1 อันต่อ 1 ห้อง เช่น ฝักถั่ว แอปเปิล
ผลกลุ่ม (aggregate fruit) รังไข่มีหลายห้อง เช่น น้อยหน่า
ผลรวม (multiple fruit) พัฒนามาจากกลุ่มของดอกที่แยกกัน แต่มารวมกลุ่มกัน โดยผนังของรังไข่เชื่อมต่อกันระหว่างพัฒนาการของผล เช่น สับปะรด
[แก้] การงอกของเมล็ดเป็นต้นอ่อน
เมล็ดเริ่มงอกเมื่อได้รับน้ำ โดยเมล็ดที่ชุ่มน้ำจะขยายตัวและส่วนเปลือกจะฉีกขาดออก เอ็มบริโอเริ่มแบ่งตัวอีกครั้ง เอนไซม์ในเอ็นโดสเปิร์มและใบเลี้ยงเริ่มทำงานเพื่อสลายสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของเอ็มบริโอ การงอกของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับพืชใบเลี้ยงคู่ต่างกันที่ว่าพืชใบเลี้ยงคู่จะชูใบเลี้ยงขึ้นเหนือผิวดินก่อนจะมีใบจริงเจริญตามมา ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะไม่ชูใบเลี้ยงขึ้นจะชูแต่ใบจริงขึ้นมาเท่านั้น

โครงสร้างของพืช


โครงสร้างของพืช

เนื้อเยื่อของพืชแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. เนื้อเยื้อเจริญ ( MERISTMETIC TISSUE ) สามารถแบ่งเซลล์ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง

2. เนื้อเยื่อถาวร ( PERMANENT TISSUE ) เป็นเนื้อเยื่อที่ไม่มีการแบ่งเซลล์อีกแล้วได้แก่

2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เช่น อิพิเดอร์มิส พาเรนไคมา คอลเลนไคมา สเคอเรนไคมา เอนโดเดอร์มิส

2.2 เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน ประกอยด้วยกลุ่มเซลล์หลายชนิดอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกัน เช่นเนื้อเยื่อท่อลำเลียง
โครงสร้างและหน้าที่ของราก รากมีโครงสร้างเรียงลำดับจากภายนอกสู่ภายในดังนี้1. EPIDERMIS มีลักษณะเหมือนอิพิเดอร์มิสของลำต้นแต่จะมีบางเซลล์ยื่นออกไปเป็นขนราก ( ROOT HAIR )2. CORTEX ประกอบด้วยเซลล์พาเรนไคมา ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารและน้ำ คอร์เทกซ์ของรากจะกว้างกว่าลำต้น

3. STELE เป็นชั้นที่อยู่ถัด ENDODERMIS ประกอบด้วย

3.1 PERICYCLE ส่วนใหญ่เรียงตัวแถวเดียว หรือ สองแถวเป็นแหล่งทีเกิดของรากแขนง

3.2 VASCULAR BUNDLE คือกลุ่มของท่อน้ำท่ออาหารจะอยู๋ภายในวงล้อมของ PERICYCLE

3.3 PITH เป็นใส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวข้อควรจำ ถ้าดูภาพตัดขวางของรากจากกล้องจุลทรรศน์จะพบว่า- ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีส่วนกลางสุดเป็นไซเลม- ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเป็นพิธ
โครงสร้างของลำต้น

ชั้นของเนื้อเยื่อลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่เรียงตัวจากภายนอกเข้าสู่ภายในตามลำดับดังต่อไปนี้

1. EPIDERMIS เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัวกันชั้นเดียว มีผนังบาง ไม่มีคลอโรพลาสต์2. CORTEX อยู่ใต้ชั้น EPIDERMIS เป็นชั้นที่มีคลอโรพลาสต์อยู่3. STELE ประกอบด้วย 3.1 VASCULAR BUNDLE คือชั้นของเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มๆ คือเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร ( PHLOEM ) 3.2 PITH คือส่วนที่อยุ่ด้านในสุดทำหน้าที่สะสมแป้งข้อควรจำ- VASCUCAR BUNDLE มนลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่จะเรียงเป็นวงรอบลำต้นอย่างเป็นระเบียบ โดยมีท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านนอกและท่อลำเลียงน้ำอยู่ด้านใน- ส่วนในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจัดกระจายทั่วลำต้นไม่เป็นระเบียบ และส่วนที่เป็นพิธอาจสลายไปกลายเป็นช่องวงกลม เรียกว่า PITH CAVITY
การเจริญเติบโตของรากและลำต้น พืชในระยะหลังจากเอมบริโอบริเวณที่จะมีการเจริญเติบโต ได้แก่ปลายราก ปลายยอด ปลายกิ่ง และเนื้อเยื่อเจริญ ( MERISTEMETIC TISSUE ) ที่แบ่งตัวตลอดเวลา การเจริญของพืชที่มีเนื้อไม้จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ- ระยะที่ 1 การเจริญเติบโตที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญที่บริเวณปลายยอด ปลายราก ปละแปรสภาพเป็นเนื้อเยื่อถาวร ( PERMANT TISSUE )ระยะแรกๆ- ระยะที่ 2 เป็นการเจริญของเนื้อเยื่อลำเลียงด้านข้าง เป็นผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นพืชขยายขึ้น มีเนื้อไม้มากขึ้น เนื้อไม้ที่เห็นนั้นส่วนใหญ่จะเป็นท่อลำเลียงน้ำ ( XYLEM ) ระยะที่ 2ข้อควรจำ- วงปี ( ANNUAL RING ) เกิดจากความแตกต่างของขนาดและสีของไซเลมที่เกิดขึ้นในฤดูที่มีปริมาณน้ำมากน้อยแตกต่างกัน- แก่นไม้ ( HEART WOOD ) เป็นไซเลมที่อยู่ส่วนในสุดของต้น มีสีคล้ำมีความแข็งแรงมาก เนื่องจากมีพวกน้ำมันหรือพวก TANNIN เข้าไปอุดตันทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้- กระพี้ ( SAP WOOD ) คือไซเลมที่อยู่ถัดแคมเบียมเข้าไป ยังสามารถลำเลียงน้ำได้- เปลือกไม้ ( BARK ) คือ โฟลเอม รวมกับอิพิเดอร์มิส ( EPIDERMIS )
ใบประกอบด้วยชั้นเซลล์ 2 ชั้น1. เซลล์อิพิเดอร์มิส ( EPIDERMIS ) เป็นเซลล์ชั้นนอกสุด2. เซลล์ชั้นมีโซฟิลล์ ( MESOPHYLL ) อยู่ถัดจากอิพิเดอร์มิสเข้าไปประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างกัน 2 แบบคือ- PALISADE CELL อยู่ติดกับอิพิเดอร์มิสด้านบน มีรูปร่างยาวๆเรียงติดกัน มีคลอโรพลาสต์อยู่เป็นจำนวนมากจึงเป็นบริเวณที่มีการสังเคราะห์ด้วนแสงมากที่สุด- SPONG CELL อยู่ถัดจากอิพิเดอร์มิสด้านล่างขึ้นมา มีรูปร่างค่อนข้างกลม มีคลอโรพลาสต์น้อย เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ บริเวณเส้นใบจะมีกลุ่มของไซเลม และ โฟลเอม จับกลุ่มเป็นเนื้อเยื่อลำเลียงแทรกอยู่ในชั้นมีโซฟิลล์นี้ข้อควรระวัง ตามปกติอิพิเดอร์มิสจะไม่มีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน จะมีอยู่ที่บริเวณเซลล์คุม ( GUARD CELL ) ซึ่งมีอยู่เป็นคู่ๆ พบมากที่ดิพิเดอร์มิสที่อยู่ด้านล่างระหว่างเซลล์คุมทั้งสองใบเป็นปากใบ ( STOMATA )ซึ่งเป็นทางเปิดเข้าออกของ ก๊าซ และไอน้ำชนิดของใบ1. ใบเลี้ยง – สะสมอาหาร2. ใบเกล็ด – เช่นหัวหอม กระเทียม3. ใบดอก – ใบเฟื่องฟ้า , หน้าวัว , คริสต์มาส4. ใบแท้

สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วัฒนา เสถียรสวัสดิ์
เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพืชสร้างขึ้นเองหรือสังเคราะห์ขึ้นก็ได้ และเมื่อนำไปใช้ในปริมาณเล็กน้อยแล้วสามารถกระตุ้น ยับยั้ง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพทางสรีรวิทยาของพืชได้ ดังนั้น สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช จึงรวมเอาฮอร์โมนพืชไว้ด้วย แต่ฮอร์โมนพืชเป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเองเท่านั้น สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชมี ๖ กลุ่ม แบ่งตามคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มที่ให้การเจริญเติบโตมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออกซิน (auxins) กลุ่มจิบเบอเรลลิน (gibberellins) และกลุ่มไซโตไคนิน (cytokinins) นอกนั้นเป็นกลุ่มชะลอการ เจริญเติบโต กลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต และ กลุ่มที่กระตุ้นให้เกิดความ

สารควบคุมการเจริญเติบโตนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้านการเพิ่มผลผลิต การผลิตพืชนอกฤดู ลดแรงงานในการผลิตพืช เป็นต้น การใช้สารให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้นจะต้องทราบคุณสมบัติของสารแต่ละชนิดและเลือกใช้ให้ถูกกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงขอยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากสารเหล่านี้เพียงบางประการเพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลิตพืชต่อไป
1. ออกซิน คุณสมบัติที่สำคัญของออกซินข้อหนึ่งคือ ความสามารถในการกระตุ้นการเกิดรากและการเจริญของราก จึงได้มีการนำออกซินมาใช้กับกิ่งปักชำหรือกิ่งตอนของพืชทั่ว ๆ ไป เพื่อเร่งให้เกิดรากเร็วขึ้นและมากขึ้น
นอกจากนี้พืชบางชนิดออกรากได้ยาก แต่ถ้ามีการใช้ออกซินเข้าช่วยก็จะทำให้ออกรากได้ง่ายขึ้น สารที่นิยมใช้ในการเร่งรากคือ เอ็นเอเอ (NAA) และไอบีเอ (IBA) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จัดว่าเป็นออกซินอย่างอ่อน มีพิษต่อพืชน้อย รากที่เกิดขึ้นจากการใช้สาร 2 ชนิดนี้จึงมักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ถ้าใช้สารพวก 2,4-ดี หรือ 4-ซีพีเอ ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูง จะทำให้รากผิดปกติ คือกุดสั้น รากหนาเป็นกระจุก ประโยชน์ของออกซินอีกข้อหนึ่งคือ ใช้ป้องกันผลร่วงได้ในพืชหลายชนิด เช่น มะม่วง มะนาว ส้ม ลางสาด ขนุน มะละกอ เนื่องจากออกซินมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างรอยแยก (abscission layer) ในบริเวณขั้วผลได้ อย่างไรก็ตาม ออกซินไม่สามารถยับยั้งการร่วงของผลได้ในบางกรณี เช่น การร่วงเนื่องจากโรคและแมลงเข้าทำลาย การร่วงของผลที่ไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น หรือการร่วงเนื่องจากความผิดปกติของผล ออกซินที่นิยมใช้ในการป้องกันการร่วงของผลคือ เอ็นเอเอ, 2,4-ดี และ4-ซีพีเอ แต่จะไม่ใช้ ไอบีเอ เนื่องจาก ไอบีเอ ก่อให้เกิดพิษกับใบพืช ทางด้านการเร่งดอกนั้น อาจกล่าวได้ว่า ออกซินไม่มีคุณสมบัติทางด้านนี้โดยตรง ในต่างประเทศเคยมีการใช้ เอ็นเอเอ เพื่อเร่งดอกสับปะรด ซึ่งก็ได้ผลดีพอสมควร ต่อมาจึงพบว่าการที่สับปะรดออกดอกได้นั้น เกิดขึ้นจากการที่ เอ็นเอเอ ไปกระตุ้นให้ต้นสับปะรดสร้างเอทิลีนขึ้นมา และเอทิลีนนั้นเองเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดดอก ผลทางด้านอื่น ๆ ของออกซินได้แก่ การเปลี่ยนเพศดอก ซึ่งปัจจุบันชาวสวนเงาะในประเทศไทยใช้กันอยู่ทุกแห่ง โดยใช้ เอ็นเอเอ พ่นไปที่ช่อดอกเงาะบางส่วน ทำให้ช่อดอกที่ถูกสารเปลี่ยนจากดอกสมบูรณ์เพศที่ทำหน้าที่ตัวเมียกลายเป็นดอกตัวผู้ขึ้นมาแทน ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายละอองเกสรและเกิดการปฏิสนธิขึ้นได้ การใช้ออกซินความเข้มข้นสูง ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม มักจะก่อให้เกิดความเป็นพิษกับพืช เช่น ใบร่วง ต้นชะงักการเติบโต จนกระทั่งทำให้ต้นตาย ดังนั้นจึงมีการใช้สาร 2,4-ดี ซึ่งมีฤทธิ์ของออกซินสูงมาก เป็นยากำจัดวัชพืชอย่างกว้างขวาง
2. จิบเบอเรลลิน มีคุณสมบัติสำคัญเกี่ยวข้องกับการยืดตัวของเซลล์ ดังนั้นจึงใช้ในการเร่งการเติบโตของพืชทั่ว ๆ ไปได้ ผักกินใบหลายชนิดตอบสนองต่อจิบเบอเรลลินได้ดี โดยจะมีการเติบโตของเซลล์รวดเร็วขึ้น ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ผักบางชนิดที่มีการเติบโตของต้นเป็นแบบกระจุก (rosette plant) เช่น ผักกาดหอมห่อ ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี ถ้ามีการใช้จิบเบอเรลลินกับพืชเหล่านี้ในระยะต้นกล้า จะทำให้เกิดการยืดตัวของต้นอย่างรวดเร็ว และออกดอกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ในกรณีของไม้ผลยืนต้นหลายชนิด เช่น มะม่วง ส้ม และไม้ผลเขตหนาวอื่น ๆ พบว่า จิบเบอเรลลินมีผลเร่งการเติบโตทางด้านกิ่งใบและยับยั้งการออกดอก ดังนั้นในกรณีที่ต้องการเร่งใบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า จึงอาจใช้จิบเบอเรลลินให้เป็นประโยชน์ได้ จิบเบอเรลลินยังมีผลช่วยขยายขนาดผลได้ เช่น องุ่น มะม่วง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้อยู่ในบางสวนของประเทศไทย ประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ ของจิบเบอเรลลินได้แก่ ใช้ในการเปลี่ยนแปลงดอกของพืชบางชนิด เช่น พืชตระกูลแตง และข้าวโพดหวาน ให้มีดอกตัวผู้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการถ่ายละอองเกสรและยังใช้ทำลายการพักตัวของหัวมันฝรั่งและเมล็ดพืชบางชนิดได้
3. ไซโตไคนิน คุณสมบัติในการช่วยแบ่งเซลล์ของไซโตไคนินมีประโยชน์ในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นอย่างมากโดยใช้ผสมเข้าไปในสูตรอาหารเพื่อช่วยการเติบโตของแคลลัสและกระตุ้นให้ก้อนแคลลัสพัฒนากลายเป็นต้นได้ ประโยชน์ทางด้านอื่นของไซโตไคนินมีค่อนข้างจำกัด นอกจากการนำมาใช้เร่งการแตกตาของพืช ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการควบคุมทรงพุ่มและเร่งการแตกตาของพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยการติดตาแล้ว ไซโตไคนินยังมีคุณสมบัติชะลอการแก่ชราของพืชได้ จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักกินใบและผลไม้ รวมทั้งดอกไม้ได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเพียงงานทดลองเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงจัง
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน เป็นสารเร่งการสุกของผลไม้จึงใช้ในการบ่มผลไม้โดยทั่ว ๆ ไป การสุกของผลไม้ตามปกติก็เกิดจากการที่ผลไม้นั้น สร้างเอทิลีนขึ้นมา ดังนั้นการให้เอทิลีนกับผลไม้ที่แก่จัดจึงสามารถเร่งให้เกิดการสุกได้เร็วกว่าปกติ โดยที่คุณภาพของผลไม้ไม่ได้เปลี่ยนไป ในต่างประเทศใช้ก๊าซเอทิลีนเป็นตัวบ่มผลไม้โดยตรง แต่ต้องสร้างห้องบ่มโดยเฉพาะ ส่วนในประเทศไทยไม่มีห้องบ่มจึงใช้ถ่านก๊าซ (calcium carbide) ในการบ่มผลไม้แทน โดยที่ถ่านก๊าซเมื่อทำปฏิกริยากับน้ำจะได้ก๊าซอะเซทิลีนออกมา ซึ่งมีผลเร่งการสุกเหมือนกับเอทิลีน เกษตรกรบางรายเริ่มนำ เอทีฟอน เข้ามาใช้บ่มผลไม้ แต่ยังไม่มีผู้ใดให้คำยืนยันในเรื่องพิษตกค้างของสารนี้ เอทีฟอนเป็นสารปลดปล่อยเอทิลีนซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น ใช้ในการเร่งดอกสับปะรด เร่งการไหลและเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราและยางมะละกอ เร่งการแก่ของผลไม้บนต้นให้แก่พร้อมกัน เช่น เงาะ มะม่วง ลองกอง องุ่น มะเขือเทศ กาแฟ เร่งการแก่ของใบยาสูบ และมีแนวโน้มที่จะนำสารนี้มาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเร่งการแก่และการสุกของผลไม้
5. สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช มีผลยับยั้งจิบเบอเรลลิน ดังนั้น ลักษณะใดก็ตามที่ถูกควบคุมโดยจิบเบอเรลลิน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการใช้สารชะลอการเจริญเติบโต คุณสมบัติสำคัญของสารกลุ่มนี้คือ ยับยั้งการยืดตัวของปล้อง ทำให้ต้นเตี้ย กะทัดรัด จึงมีประโยชน์มากในการผลิตไม้กระถางประดับเพื่อให้มีทรงพุ่มสวยงาม (compact) และยังมีประโยชน์สำหรับการผลิตไม้ผลโดยระบบปลูกชิด (high density planting) คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของสารคือ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงอาจใช้เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิดที่ปลูกในสภาพดังกล่าวได้ เช่น แดมิโนไซด์ สามารถเพิ่มผลผลิตผักกาดขาวปลี และผักกาดเขียวปลี ซึ่งปลูกในฤดูร้อนได้ ประโยชน์ที่สำคัญของสารชะลอการเจริญเติบโตคือ สามารถเร่งดอกไม้ผลบางชนิดได้ เช่น การใช้ พาโคลบิวทราโซล กับมะม่วงและลิ้นจี่ ทำให้มีช่อดอกมากขึ้นและการออกก่อนฤดูกาลปกติ ทั้งนี้เนื่องจากสารชะลอการเจริญเติบโตมีผลลดปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้น ซึ่งจิบเบอเรลลินมีผลยับยั้งการออกดอก ดังนั้นเมื่อจิบเบอเรลลินน้อยลงกว่าปกติ จึงทำให้ไม้ผลเหล่านี้ออกดอกได้
6. สารยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช จากคุณสมบัติสำคัญในการยับยั้งการแบ่งเซลล์ของพืช จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ในบางกรณีเช่น การใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ ยับยั้งการงอกของหอมหัวใหญ่และมันฝรั่ง ใช้ในการชักนำให้เกิดการพักตัวของต้นส้มเพื่อการสะสมอาหารสำหรับออกดอก สารยับยั้งการเติบโตมีผลยับยั้งการแบ่งเซลล์ในบริเวณปลายยอด หรืออาจกล่าวได้ว่ามีผลทำลายตายอด จึงทำให้ออกซินไม่สามารถสร้างขึ้นที่ปลายยอดได้เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ตาข้างเจริญออกมาแทน ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่ของการบังคับให้ต้นแตกกิ่งแขนงได้มาก เช่นการใช้ มาเลอิก ไฮดราไซด์ เพิ่มการแตกพุ่มของไม้พุ่มหรือไม้ที่ปลูกตามแนวรั้ว การใช้คลอฟลูรีนอล เพิ่มจำนวนหน่อของสับปะรดและสับปะรดประดับ อย่างไรก็ตามประโยชน์ของสารกลุ่มนี้ยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ
7. สารอื่น ๆ เป็นสารซึ่งมีคุณสมบัติผิดแปลกออกไป จนไม่อาจชี้เฉพาะลงไปได้ แต่ก็มีการใช้สารในกลุ่มนี้เพิ่มผลผลิตพืชหลายชนิด เช่นกัน ได้แก่ การใช้เออร์โกสติมในการเพิ่มขนาดผลส้มหรือเพิ่มขนาดและน้ำหนักของผลสตรอเบอรี่เพิ่มน้ำตาลในอ้อย โดยใช้ไกลโฟท์ซีน (glyphosine) หรือการเพิ่มการติดผลของผลไม้บางชนิด การขยายขนาดผลและเพิ่มผลผลิตธัญพืชโดยใช้อโทนิก

ชราภาพ ซึ่งรวมอยู่ในกลุ่มเอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน (ethylene releasing compounds
)

วัฎจักรของพืช

วัฎจักรของพืช


ถ้าเรานำเมล็ดพืชต่าง ๆ ไปปลูกแล้วคอยสังเกตดูสักระยะหนึ่ง จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
เมื่อนำเมล็ดพืชไปปลูกสักระยะหนึ่ง เมล็ดพืชจะค่อย ๆ งอกรากออกมาต่อจากนั้นลำต้นจะงอกออกมาจนเป็นต้นพืชต้นเล็ก ๆ และเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และสูงขึ้น เมื่อต้นพืชเจริญเติบโตเต็มที่ จะออกดอก และเมื่อดอกได้รับการผสมพันธุ์ก็จะเกิดเป็นผล ซึ่งภายในผลของพืชมีเมล็ดที่สามารถเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า วัฎจักรชีวิตของพืชดอก ซึ่งจะเกิดหมุนเวียนต่อกันไปเช่นนี้เรื่อย ๆ
ขั้นตอนการเจริญเติบโตของพืช
1. รากงอกออกจากเมล็ดก่อนลงสู่ดิน
2. ลำต้นงอกออกจากเมล็ดขึ้นไปในอากาศ
3. แตกใบ
4. ออกดอก
5. ออกผล โดยภายในผลจะมีเมล็ด

การเปลี่ยนแปลงจากดอกสู่ผล
เมื่อต้นพืชเจริญเติบโตจะออกดอก เมื่อดอกได้รับการถ่ายละอองเรณูจะเกิดการปฏิสนธิ ต่อจากนั้นกลีบดอกจะค่อย ๆ เหี่ยวแล้วหลุดร่วงไป ส่วนของผลจะค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นแทนที่ ผลของส่วนใหญ่มีเมล็ดอยู่ภายใน

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
ได้แก่

ดิน(Soil)
ส่วนประกอบของดิน ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช แบ่งได้เป็น 4 ส่วนคือ อนินทรีย์วัตถุ อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศ
- ดินให้ที่ยึดเกาะแก่พืช และเป็นแหล่งธาตุอาหาร น้ำและอากาศ
- ธาตุอาหารตัวที่น้อยที่สุดจะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช Low of minimum
- ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Soil fertility) หมายถึงสมบัติของดินในการให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช ในปริมาณและอัตราส่วนที่เหมาะสม
- ความสามารถในการให้ผลผลิต (Soil productivity) หมายถึงความสามารถของดินในการให้ผลผลิตภายใต้การดูแลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม


ธาตุอาหารพืช (Plant Nutrients)
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืชมี 16 ธาตุ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1. คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นส่วนประกอบประมาณ 94-99.5% ของน้ำหนักสดของพืช และพืชได้รับจากอากาศและน้ำ
2. ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซียม (K) มักเรียกธาตุอาหารหลักหรือปุ๋ย เพราะพืชต้องการใช้มาก และดินมักจะขาดธาตุเหล่านี้ จึงมักใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชในไร่นาทั่วไป
3. แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) เรียกว่าธาตุรอง เพราะพืชต้องการใช้มากรองจาก N, P, K
4. เหล็ก (Fe) แมงการนีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองดอง (Cu) โบรอน (B) โมลิบดีนัม (Mo) คลอรีน (Cl) พืชต้องการในปริมาณน้อยมากแต่ก็ขาดไม่ได้ จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า จุลธาตุ
- จุลธาตุมักขาดในดินทราย, ดินมี pH สูง หรือมีอินทรีย์วัตถุมาก
- N, P มักขาดในดินทั่วไป K มีมากยกเว้นในดินทราย

ไนโตรเจน (N)
แหล่งใหญ่ในดินคืออินทรีย์วัตถุ ซึ่งเฉลี่ยจะมี N ประมาณ 5% พืชใช้ N ในรูป NH4+, NO2-, NO3- หน้าที่และความสำคัญของ N พืชต้องการมากเพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต สร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และวิตามิน

พืชที่ได้รับ N ในปริมาณที่พอเหมาะจะส่งผลให้
1. กระตุ้นให้เติบโตและแข็งแรง
2. ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบ
3. ทำให้ใบสีเขียว
4. เพิ่มโปรตีนให้พืช
5. ควบคุมการออกดอก
6. เพิ่มผลผลิตและเมล็ด
7. ทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรก
พืชได้รับ N น้อยเกินไปจะแสดงอาการดังนี้
1. ใบ ลำต้นเหลืองผิดปกติ
2. ใบล่างเหลือง ปลายใบค่อยๆแห้ง ใบร่วงก่อนกำหนด
3. พืชไม่โต ลำต้นผอมสูง ผลผลิตต่ำ
ผลเสียจากการที่พืชได้รับ N มากเกินไป
1. คุณภาพเมล็ด ผล ใบ เสื่อม
2. พืชแก่เร็ว
3. ผลผลิตเมล็ดลดลงเพราะมุ่งสร้างดอก ลำต้น กิ่ง ใบ มากกว่าดอกและเมล็ด
4. ต้นอ่อนล้มง่าย เช่น ข้าว
5. ต้านทานโรคลดลง
แหล่งของ N มาจาก
- อากาศ
- จุลินทรีย์ Symbiotic
- จุลินทรีย์ Non- Symbiotic
- ฝน
- ปุ๋ย
การสูญเสีย N
- พืชใช้ไป
- การชะล้างโดยน้ำฝน
- กลายเป็นก๊าซ NO (Nitric Oxide), N2O (Nitrous Oxide), N2 (Nitrogen)
- ดินกรด NO2 จะเกิดการสูญเสียในรูปก๊าซ N2 เช่น 2HNO2 + CO(NH2) -> CO2 +3H2O + 2N2

ฟอสฟอรัส (P)
พืชต้องการ P ประมาณ 0.3-0.5% (โดยน้ำหนักแห้ง) พืชใช้ในรูป H2PO4-H2PO = 4PH ที่เหมาะสม 6-7 ฟอสเฟตถูกตึงง่าย พืชใช้ได้ 10-25% ของปริมาณที่ใส่ให้พืช โดยเฉพาะดินกรดจะถูกตรึงทันทีด้วย polar adsorption เมื่อ pH ต่ำจะถูกตรึงโดยโลหะ เช่น Fe, Al และ Mn ส่วน pH จะถูกตึงโดย Ca และ Mg ปริมาณ P ในดินนาไทยมี 0.020% เปรียบเทียบกับพม่า 0.082% มาเลย์เซีย 0.040% ญี่ปุ่น 0.080% ฟิลิปปินส์ 0.059%

หน้าที่และความสำคัญของ P เป็นองค์ประกอบของอินทรีย์สารหลายชนิด
1. ทำปฏิกิริยากับน้ำตาลฟอสเฟต มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง
2. เป็นองค์ประกอบของ DNA และ RNA ฟอสโฟไลปิด
3. ฟอสเฟตพลังงานสูงใน ATP
4. สร้างพันธะเคมีเพื่อเชื่อมโมเลกุลที่ซับซ้อนและมั่นคง (C-P-C)
อาการที่พืชขาด P
1. ใบขยายขนาดช้าจึงเล็ก
2. จำนวนใบน้อย ออกดอกช้า
3. จำนวนดอก ผล เมล็ด ลดลง
4. ใบล่วงเร็วกว่าปกติ

โปตัสเซียม (K)
มีรากในดิน พืชต้องการ 2-5% (โดยน้ำหนักแห้ง) รูปของไอคอนที่พืชใช้ได้ K+

หน้าที่และความสำคัญของ K
1. ใช้ในกระบวนการสร้างน้ำตาลและแป้ง
2 การเคลื่อนย้ายน้ำตาลและแป้ง (เพิ่มเท่าตัว)
3. การสังเคราะห์แสงและหายใจถ้าแสงน้อยควรเพิ่ม K เช่น หน้าฝน, อากาศหนาว, พืชหัวต้องการ K มาก
4. การปลุกฤทธิ์
5. เพิ่มความต้านทานโรค
6. เพิ่มคุณภาพผัก ผลไม้
อาการที่พืชขาด K
1. ใบพืชสีซีด แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
2. เมล็ดลีบ น้ำหนักเบา หัวมีแป้งน้อย น้ำมาก ผลไม้เนื้อฟ่าม
3. เหี่ยวเฉาง่ายเมื่อความชื้นต่ำ
** การใช้ปูนทำให้ K ถูกชะล้างน้อยลง

แคลเซียม (Ca)
ในพืชมี 0.1-5% (โดยน้ำหนักแห้ง) พืชใช้ Ca ในรูป Ca++พืชใบเลี้ยงคู่ต้องการ Ca มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว Ca มาจากองค์ประกอบหลายชนิด แต่เรารู้จักกันมากในกลุ่มของเกลือแคลเซียมอิสระ พวกปูนต่างๆได้แก่ หินปูน (CaCO3), โดโลไมท์ (CaMg(CO3) 2), ยิปซั่ม (CaSO4) เป็นต้น
หน้าที่และความสำคัญของ Ca
1. จำเป็นในการแบ่งเซลล์
2. เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างผนังเซลล์ โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของยอดหรือปลายราก
3. เป็นตัวแก้ความเป็นสารพิษต่างๆ เช่น พิษของทองแดง, กรด Oxalic acid
4. เป็นตัวต้านฤทธิ์ของฮอร์โมนพืชพวก Auxin
5. ส่งเสริมการดูดดึงไนเตรทไนโตรเจน จึงช่วยสร้างโปรตีนในทางอ้อม
6. ลดการดูดดึงธาตุ K
อาการที่พืชขาด Ca
1. เกิดกับส่วนยอดหรือใบอ่อน
2. ใบอ่อนบิดเบี้ยว ขอบใบม้วนลงล่าง ขอบใบขาดเป็นริ้ว แห้งขาวหรือเป็นจุดสีน้ำตาลตามขอบใบยอดแห้งตาย (die back)
3. รากไม่เจริญเท่าที่ควร รากสั้น
4. อาการก้นเน่าในผลมะเขือเทศ ไส้เน่าของกะหล่ำดอก ต้นคื่นช่ายผิวฉีกขาด ยอดอ่อนตาย เป็นต้น

แมกนีเซียม (Mg)
ปกติพืชมี Mg อยู่ในช่วง 0.15-0.35% (โดยน้ำหนักแห้ง) พืชใช้ Mg ในรูป Mg++
องค์ประกอบที่หาได้ง่ายคือ โดโลไมท์ (CaMg(CO3) 2)

หน้าที่และความสำคัญของ Mg
1. เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ (ส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช)
2. เป็นตัวนำให้เกิดปฏิกิริยาการใช้ P
3. มีส่วนในการสร้างกำมะถันโดยทำงานร่วมกับกำมะถัน (S)
4. เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการหายใจของเซลล์
5. มีส่วนในการสร้างองค์ประกอบทางพันธุกรรม
อาการที่พืชขาด Mg
เกิดที่ใบล่าง เพราะเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ อาการใบล่างเหลือง แต่เส้นใยยังเขียว ต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีขาวและสีน้ำตาล และตายในที่สุด
ตัวอย่างการขาด Mg ในพืชต่างๆ
- ข้าวฟ่างและฝ้าย ถ้าขาดใบจะมีสีม่วงแดง
- พืชตระกูลถั่ว ถ้าขาด Mg จะเกิดสีซีด (Chlorosis) แต่เส้นใยยังเขียวอยู่
- มันฝรั่ง จะทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Potato sickness
- ส้ม จะทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Bronzing
- ต้นแอปเปิล จะทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Blotch ใบจะหลุดล่วงก่อนกำหนด

กำมะถัน (S)
พืชปกติมี S อยู่ประมาณ 0.1-0.5% (โดยน้ำหนักแห้ง) พืชใช้ S ในรูป SO4, SO3 ทั่วไปอยู่ในรูปซัลไฟด์และซัลเฟตในดิน ในแร่ไฟไรท์ (FeS2), ยิปซั่ม (CaSO4) เป็นต้น ปุ๋ย เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต มี S อยู่ 24% ยิปซัมมี S อยู่ 18% การใส่กำมะถันในดินทำให้เกิดความเป็นกรดจัด
หน้าที่และความสำคัญของ S
1. จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน
2. เป็นองค์ประกอบของวิตามิน B1, Coenzyme A, Glutathione, และ Enzyme อื่นๆ
3. มีผลทางอ้อมต่อการแย่งเซลล์ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของส่วนยอดพืช
4. เป็นองค์ประกอบของสารที่ระเหยได้ เช่น กลีบของหัวหอม, กระเทียม, กะหล่ำปลี
5. เพิ่มปริมาณน้ำมันในพืช เช่น ถั่วเหลือง
อาการที่พืชขาด S
1. มีใบสีเขียวอ่อนหรือเหลืองคล้ายขาด N แต่การขาด S จะเกิดที่ยอด
2. ใบมีขนาดเล็กลง ยอดพืชชะงักการเจริญเติบโต
3. ลำต้นลีบเล็กแคระแกน เนื้อไม้แข็ง รากยาวผิดปกติ พืชอายุน้อยอาจตายได้
ตัวอย่างการขาด S ในพืชต่างๆ
- มันฝรั่งถ้าขาดจะเกิดอาการใบเหลืองรวมทั้งเส้นใบ ใบจะม้วนขึ้นทีละน้อยมีรอยแห้งตายเล็กๆระหว่างเส้นใบ การเจริญลดลง
- ผัก จะมีใบล่างหนาและกระด้าง ลำต้นมีสีเขียวเหลืองเกิดขึ้น ผอมบาง
- ตระกูลถั่ว ใบอ่อนจะสีเขียวอ่อนจนเหลืองรวมทั้งเส้นใบ มีโปรตีนต่ำ มีปมน้อย
พืชที่ต้องการ S มาก ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว, หอม, กะหล่ำปลี, หน่อไม้ฝรั่ง, กระเทียม และดอกไม้บางชนิด
พืชที่ต้องการ S ลองลงมา ได้แก่ ฝ้าย, ยาสูบ และมันฝรั่ง
พืชที่ต้องการ S น้อย ได้แก่ หญ้าต่างๆ, ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง เป็นต้น

เหล็ก (Fe)
หน้าที่และความสำคัญของ Fe
1. เป็นองค์ประกอบและช่วยสร้างคลอโรฟิลล์
2. ช่วยในการดูดธาตุอาหารอื่นๆ
3. จำเป็นในการสังเคราะห์โปรตีนและคลอโรพลาส
4. เป็นองค์ประกอบเอนไซม์หลายชนิด
5. เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญของพืช
6. เป็นองค์ประกอบของ Cytochrome ซึ่งสำคัญในกระบวนการหายใจของพืช


อาการที่พืชขาด Fe
1. จะเกิดอาการขาวซีดที่ใบอ่อน และจะตายจากยอดลงมา (die back) โดยที่ใบล่างยังเขียวอยู่
2. จาก Fe มากเกินไป มักเกิดกับข้าวในดินเปรี้ยวจัด ทำให้ใบมีสีเขียวปนน้ำเงิน ต่อมาใบจะแห้งอย่างรวดเร็ว การเจริญของต้นและรากลดลง รากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
การแก้ไข
โดยการใช้ปุ๋ย K

แมงกานีส (Mn)
หน้าที่และความสำคัญของ Mn
1. บทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง
2. จะเป็นในการสังเคราะห์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
3. กระตุ้นการทำงานของ Enzymes
4. มีส่วนใน Metabolism ของ Fe และ N
อาการที่พืชขาด Mn
อาการใบเหลือง แต่เส้นใบเขียว เกิดกับต้นอ่อน การเจริญเติบโตช้าไม่ออกดอกออกผล ในพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าวจะเกิดการขาด Mn ง่าย
อาการเป็นพิษจากการได้รับ Mn มากเกินไป
- ตาข้างแตกกิ่งมากมาย (Withes broom)
- ทำให้เกิดการขาด Ca ที่ใบอ่อน

ทองแดง (Cu)
หน้าที่และความสำคัญของ Cu
1. สำคัญต่อการสร้างละอองเกสร และการปฏิสนธิ
2. บทบาททางอ้อมในการสร้างคลอโรฟิลล์
3. เป็นตัวเร่ง Enzyme หลายชนิด
4. ช่วยในกระบวนการหายใจ
5. เป็นองค์ประกอบของโปรตีน
อาการที่พืชขาด Cu
ใบพืชเขียวจัดในช่วงแรก และต่อมาค่อยๆเหลืองลง
ตัวอย่างการขาด Cu ในพืชต่างๆ
- พวกส้มจะเกิดอาการตายจากยอดลงมา
- ข้าวโพดใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนแกมเหลืองที่ฐานใบ และปลายใบจะแห้งตาย มักเกิดกับใบตอนบนมากกว่าตองล่าง
อาการจากการได้รับ Cu มากเกินไป
การเจริญเติบโตลดลง และอาจแสดงอาการขาด Fe ด้วย

สังกะสี (Zn)
หน้าที่และความสำคัญของ Zn
อาการที่พืชขาด Zn
- ยอดยืดช้า ใบเป็นกระจุก ใบเล็กแคบ ไม่ออกผล น้ำหนักเมล็ดลดลง
- มีกิจกรรมของออกซิเจนลดลงถึง 50%

โมลิบดีนัม (Mo)
หน้าที่และความสำคัญของ MO
1. จำเป็นในการตรึงไนโตรเจน
2. เป็นตัวก่อให้เกิด Metabolism ของไนโตรเจน
3. เป็นตัวเร่ง Enzyme หลายชนิด

อาการที่พืชขาด MO
มักเกิดอาการใบล่างแห้งตาย ขอบใบหงิกงอ มีจุดด่างเกิดขึ้น

โบรอน (B)
หน้าที่และความสำคัญของ B
1. เกี่ยวข้องกับการดูดดึง Ca ของรากพืช
2. ช่วยให้พืชใช้ K ได้มากขึ้น
3. มีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต
4. ปรับสัดส่วนระหว่าง K และ Ca ในพืชให้เหมาะสม
5. ช่วยให้ดูด N ได้ดี
6. เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง
7. จำเป็นสำหรับการงอกของเกสรพืช
8. ช่วยในการขนย้ายน้ำตาล
อาการที่พืชขาด B
- ยอดชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ต้นแคระแกน
- รากเจริญน้อย สั้นผิดปกติ
- เกิดจุดน้ำตาลหรือดำในจุดต่างๆ ขอพืช โดยเฉพาะพืชที่ให้หัวที่รากจะมีการแตกเป็นร่อง
- พวกกะหล่ำจะเกิดการตายของท่อน้ำ ท่ออาหาร (ไส้ดำ)
คลอรีน (Cl)
ยังไม่ทราบแน่ชัด ต่ออาจมีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสงและทำให้พืชแก่เร็วขึ้น ธาตุอาหารต่างๆในรูปของปุ๋ย มีดังนี้
N – ยูเรีย, แอมโมเนียมซัลเฟต, แอมโมเนียไนเตรท, แอมโมเนียมคลอไรด์
K – โปตัสเซียมคลอไรด์ (KCl) และโปตัสเซียมซัลเฟต (K2SO4) มี K2O ประมาณ 48-60%
P – Basic slag จากกระบวนการผลิตเหล็กกล้า มี P4O5 ประมาณ 17-20%
– กระดูสัตว์ Ca3(PO4) มี P2O5 ประมาณ 20-28%
– Rock phosphate ละลายด้วยกรดได้ P สูง เช่น ซูเปอร์ฟอสเฟต, ซูเปอร์ฟอสเฟตเข้มข้น

N-P – Mono-ammonium phosphate 11-48-0
– Di- ammonium phosphate (DAP) 16-48-0, 18-46-0
N-K – Potassium nitrate 13-0-46
P-K – Potassium metaphosphate 0-55035
N ในรูปแอมโมเนียม เหมาะกับดินกรดระบายอากาศไม่ดี เช่น ข้าว
N ในรรูปไนเตรท เหมาะกับดินด่าง

ความเป็นกรดเป็นด่าง
ความเป็นกรดเป็นด่าง มีผลต่อพืช 2 ประการ
1. มีผลต่อการดูดอาหารและน้ำโดยตรงจากใบอ่อน H+ และ OH-
2. มีผลต่อความสามารถในการละลายได้ของธาตุอาหาร ซึ่งมีทั้งประโยชน์และโทษ คือเป็นพิษถ้าละลายมากไป เช่น ในกลุ่มของโลหะ ได้แก่ เหล็ก(Fe), อลูมีเนียม(AI), แมงกานีส(Mn), เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ ดินกรด หรือดินเปรี้ยว เกิดจากอนุภาคของดินปลดปล่อย H+ ออกมา การวัดความเข้มข้นของ H+ จะใช้ pH ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 14 pH 7 จะแสดงความเป็นกลาง น้อยกว่า 7 และมากกว่า 7 เป็นด่าง
วิธีการวัด อาจใช้
- pH meter
- น้ำยาเปลี่ยนสี
- กระดาษทดสอบ pH
ดินกรด มักขาด Ca, Mg และ K ได้ง่าย ส่วน pH สูงกว่า 8.5 มักมี Ca ต่ำ เพราะส่วนใหญ่ประจุบวกที่แลกเปลี่ยนในดินจะเป็นพวก Na
- pH ต่ำกว่า 5 ธาตุ P มักทำปฏิกิริยากับ Fe และ Al ทำให้พืชใช้ได้น้อย
- พืชส่วนใหญ่เจริญได้ดีที่ pH 6.0 - 7.0
- ส่วนการปลูกพืชในน้ำยาจะปรับ pH ที่ 5.5

การเจริญเติบโตของพืชเรื่องที่ 2

การเจริญเติบโต หมายถึง การขยายขนาดของเซลล์และเพิ่มจำนวนเซลล์ การเจริญเติบโตของพืช จะประกอบด้วย 3 กระบวนการ คือ
๑. การขยายขนาดของเซลล์โดยการสร้างไซโตพลาสซึม
. การเพิ่มจำนวนเซลล์โดยการแบ่งเซลล์
๓. การเปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่ของเซลล์ สร้างอวัยวะ สร้างระบบต่าง ๆ จนได้รูปร่างที่สมบูรณ์ และคงที่
ทุกส่วนของพืชมีการเจริญเติบโต แต่ส่วนที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุด ได้แก่ ปลายยอด ปลายกิ่ง และปลายราก เพราะส่วนของพืชดังกล่าวมีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ จึงทำให้ยาวออกได้เร็วและมากกว่าส่วนอื่น ๆ ต่อมาพืชจะมีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง โดยเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างจะทำการสร้างเนื้อไม้เพิ่มขึ้นทำให้ลำด้นขยายออก เนื้อไม้ที่ขยายออกไปตามด้านข้างนี้ เมื่อเราตัดตามขวางจะเห็นเป็นลักษณะวงแหวนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เรียกว่า วงปี

ปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช
1 แสงสว่าง
2. ที่ยึดเหนี่ยว
3. อุณหภูมิ ความร้อนพอเหมาะ
4. อากาศ
5. น้ำ
6. ธาตุอาหาร
ปัจจัยที่ไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโต ได้แก่ โรค แมลง วัชพืช สารพิษ(ชะลอการเจริญเติบโต)

ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช
1. พันธุกรรม(พันธุ์พืช) สามารถกำหนดเลือกได้
2. สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ส่วนประกอบของอากาศ โรค แมลง ธาตุอาหารไม่สามารถควบคุมได้ แต่สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมได้
3. การปฏิบัติดูแลรักษา เช่น การกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย การป้องกันศัตรูพืช